top of page
DSC09719.JPG

ประวัติวัดสำมะโรง

White Background

ประวัติความเป็นมาของวัดสำมะโรง

วัดสำมะโรง จดทะเบียนปีพ.ศ.2484 ประวัติวัดตามที่กล่าวขานกันมาว่าทำไมถึงเรียกว่าสำมะโรงเดิมเรียกว่า สามพันโลงหรือ สามพันโพลงซึ่งมีตำนานเล่าขานด้วยกัน 2 ตำนาน ตำนานแรก เล่ากันมาว่ามีเรือสำเภามาล่มอยู่ที่หน้าหมู่บ้านจึงทำให้น้ำในเรือมาก เรือไม่สามารถจะแล่นไปได้ จึงได้มาขอยืมไม้โพลงของชาวบ้านนำไปวิดน้ำ กล่าวว่าโพลงน้ำในเรือออกได้ถึง 3,000 โพลง ที่ตรงนี้จึงเรียกกันว่า สามพันโพลงแล้วเรียกเพี้ยนมาเป็น สำมะโรงจนถึงปัจจุบันนี้

 

ตำนานที่ 2 เล่ากันว่า มีพี่น้องอยู่ สองคนแย่งชิงสมบัติกันเนื่องด้วยมารดาที่ตายไปแล้วยังไม่ได้แบ่งสมบัติไว้ทำให้พี่น้องเกิดแย่งชิงกันจนมีคนแนะนำให้พนันกันโดยแบ่งนาคนละครึ่งและทำลูกคันกันตรงกลางใครสามารถโพลงน้ำเข้าเต็มนาก่อนจะได้ที่ดินนั้นไป สองพี่น้องต่างโพลงน้ำเข้านาเพื่อต้องการที่ดินแปลงนี้ แต่ผลสรุปว่าทั้งสองโพลงน้ำเข้านาได้เต็มพร้อมกันและจำนวนที่โพลงได้คนละ 1,500 โพลง เท่ากัน รวมได้ 3,000 โพลงประธานในที่นั้นจึงตัดสินว่าขอยกที่ดินนี้สร้างวัด เพื่ออุทิศให้กับบิดามารดาที่ล่วงลับไปแล้ว ทั้งสองพี่น้องเห็นด้วยและสร้างวัดให้มีชี่อว่า วัดสามพันโพลงและเรียกเพี้ยนกันเรื่อยมาจนเป็นสำมะโรง

 

ถ้าจะกล่าวว่าวัดสำมะโรงได้สร้างข้นเมื่อใดนั้นคงไม่เป็นที่ทราบแน่นอนแต่สันฯษฐานกันว่าสร้างมาในสมันรัชกาลที่ 4 แต่เดิมวัดสำมะโรงไม่ได้ตั้งอยู่ ณ ที่ตั้งวัดในปัจจุบันแต่วัดจริงตั้งอยู่ทางตะวันออกของวัดห่างจากที่ตั้งเดิมประมาณ 300เมตร โดยมีเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่โดยชาวบ้านเรียกกันว่าเกาะกลางหรือเกาะร้างเล่ากันว่าครั้งพม่าตีกรุงศรีอยุธยาแต่แล้วนั้นทหารพม่าได้เผาวัดวาอารามทิ้งเผาบ้านเรือนหลังสงครามสงบลงบ้านสำมะโรงหรือบ้านสามพันโพลง 

ก็มีคนเข้ามาอาศัยเข้ามาตั้งรกรากอาศัยทำมาหากินผู้คนอยู่เย็นเป็นสุขก็มีคนคิดริเริ่ม จะซ่อมแซมวัดสามพันโพลง

ปัจจุบันวัดสำมะโรงได้รับการบูรณะซ่อมแซมปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปมาแต่ก็ยังคงโบราณสถานที่เก่าแก่เอาไว้บ้างบางส่วนเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของวัดสำมะโรงนี้

ก็คือเมื่อเข้ามาในวัดนี้จะสดุดตาพุทธวิหารมากที่สุดซึ่งทำจากไม้สักทั้งหลัง แกะสลักทั้งหลังโดยใช้ช่างจากอยุธยา ที่วัดแห่งนี้จะมีประเพณีทำบุญรอบวัดประจำหมู่บ้านซึ่งจะทำก่อนสงกรานต์สิ้นสุดวัดที่ 12 เมษายนมี 7 สถานทีและมีการจัดงานประจำปีทุกปีวัดสำมะโรงมีพระลูกวัดจำนวน 9 รูปมีพระครูใบฎีกาพงศ์เทพ

สิริปุญโญเป้นเจ้าอาวาสวัด

DSC09722.JPG
DSC09676.JPG
DSC09651.JPG
DSC09620.JPG
DSC09623.JPG
bottom of page